จิตวิทยาในเรื่องความรัก

ถ้าเราพูดถึงเรื่องความรักในช่วงนี้ ก็คงหนีไม่พ้นเทศกาลหลักของเดือนกุมภาพันธ์นั่นก็คือ “วันวาเลนไทน์” แน่นอนว่า ความรักเป็นสิ่งสวยงามเหมือนที่ใครหลายๆ คนได้บอกไว้💞

และเช่นเดียวกันความรักก็เป็นยาพิษที่ทำให้ชีวิตใครหลายคนต้องเจ็บปวดจากการได้รัก… แต่ถึงอย่างไรนั่นก็เป็นสีสันนึงของชีวิตเราใช่ไหมล่ะ🙂

หากเราลองย้อนเวลากลับไปนึกถึงเรื่องความรักล่ะก็ ความรักครั้งแรกๆ ที่ใครหลายคนนึกได้ก็คงจะเป็นความรักในช่วงวัยเรียน ช่วงเวลานั้นคงเป็นช่วงเวลาที่สดใสในความทรงจำของใครมากมายเลยใช่ไหมล่ะ การได้แอบมองใครซักคนจากมุมไกล👀 สติ๊กเกอร์บนเสื้อที่ได้จากเพื่อน ดอกกุหลาบที่ให้หรือได้จากใครซักคน🌹 ช็อกโกแลตที่แอบวางไว้บนโต๊ะ การได้แอบชอบและรักใครในตอนนั้นกลายเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากๆ ในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์

แต่เอ๊ะ? ความชอบของเรากับเธอคนนั้นจะใช่ความรักจริงๆ ไหมนะ?🤔 และถ้าใช่จะเป็นความรักแบบไหนกัน? หรือว่าในตอนนั้นเรายังเด็กเกินไปที่จะเรียกมันว่า “ความรัก”

เอาล่ะ วันนี้พวกเราชาว APOLLO 21🚀 จะนำคำถามซึ่งไร้คำตอบมาตอบให้กับทุกคนด้วยทฤษฎีจิตวิทยาของความรัก💗 หรือจะพูดอย่างเป็นทางการก็คือทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรักของ โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก (Robert Sternberg) อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยาประจำมหาวิทยาลัยเยล ได้อธิบายองค์ประกอบของความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความรักไว้ 3 อย่างที่สำคัญนั่นก็คือ ความใกล้ชิดหรือสนิทสนม (Intimacy) ความหลงใหลหรือเสน่ห์หา (Passion) และความผูกมัดหรือความผูกพัน (Commitment)

1. ความใกล้ชิด (Intimacy) เป็นองค์ประกอบด้านอารมณ์ที่ทำให้คนเรารู้สึกพูกพันเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง เป็นความรู้สึกที่เกิดจากภายในโดยความรู้สึกนี้จะค่อยๆ เกิดขึ้นเมื่อมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเป็นเวลานาน หรือความสนิทสนม **เป็นองค์ประกอบของทุกความสัมพันธ์❤️

2. ความหลงใหล (Passion) เป็นองค์ประกอบด้านแรงจูงใจ แรงดึงดูดทางเพศ (อารมณ์และร่างกาย) ความเสน่หา ความพึงพอใจในรูปแบบต่างๆ

3. ความผูกพัน (Commitment) เป็นองค์ประกอบทางด้านความคิด การใช้เวลาทำสิ่งต่างๆ ร่วมกัน การมีข้อผูกมัดหรือพันธะทางใจ การมีข้อสัญญาที่ยึดมั่นต่อกัน จะแปรผันไปตามระยะเวลาที่ใช้ร่วมกัน

ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบหลักนี้ จะทำให้เราสามารถตอบคำถามให้กับตัวเองได้ว่า ความรักของเราเป็นความรักในรูปแบบไหน หากเรามีองค์ประกอบของความสัมพันธ์ทั้ง 3 อย่างนี้ครบจะเรียกได้เลยว่า ความรักที่เรามีนั้นเป็นความรักที่สมบูรณ์ ดังนั้นเรามาตอบคำถามที่ค้างคาใจในเรื่องความรักกันเลยดีกว่า.องค์ประกอบของความรักทั้ง 3 นี้สามารถจัดรูปแบบความรักได้ทั้งหมด 7 ประเภท ไม่รวมการไม่มีความรักนะ (สามารถดูภาพประกอบเพื่อหาคำตอบได้เลย)

1. ความชอบ🥰
เป็นรักที่เกิดจากความใกล้ชิด เกิดจากคนที่เรามีความสนิทสนมด้วยโดยไม่มีข้อผูกมัด

2. ความรักที่หลงใหล😍
เป็นรักที่เกิดจากความเสน่ห์หาอย่างเดียว เป็นความรักที่ไม่จริงจัง เช่น การตกหลุมรักใครในทันที แต่หากไม่มีความมุ่งมั่นความหลงใหลก็อาจจางหายไปได้เช่นกัน

3. ความรักที่ว่างเปล่า
เป็นรักที่มีแต่ข้อผูกมัดหรือความผูกพันอย่างเดียว จริงๆ แล้วความรักที่ว่างเปล่าอาจเป็นความรักที่แข็งแกร่งที่สุดก็ได้นะ

4. ความรักแบบโรแมนติก👩‍❤️‍💋‍👨
เป็นรักที่มีความสนิมสนม เกิดจากความใกล้ชิดและเสน่ห์หา บางทีก็ทำให้เรามีความรู้สึกอยากอยู่ใกล้ตลอดเวลาเป็นรักที่ไม่มีข้อผูกมัด

5. ความรักแบบมิตรภาพ👭
เป็นรักที่มีความแข็งแกร่ง มีความผูกพันและสนิทสนมกัน มักเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระยะยาว

6. ความรักแบบภาพลวงตา🌀
เป็นรักที่มีแต่ความเสน่ห์หาและความผูกพัน เมื่อความรักในรูปแบบนี้เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นเร็วและจบเร็วเช่นกัน

7. ความรักที่สมบูรณ์❤️
เป็นรักที่มีความผูกพัน ความใกล้ชิดและความโรแมนติก เป็นรักที่สมบูรณ์แบบ และหลายคนปรารถนาที่จะมีความรักแบบนี้

เป็นอย่างไรกันบ้าง ความรักทั้ง 7 รูปแบบ ทุกคนน่าจะพอได้คำตอบของคำถามที่อยู่ในใจกันไปบ้างแล้ว และหวังว่า #ทฤษฎีจิตวิทยาในเรื่องความรัก จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับทุกคนน้าา💓

สุดท้ายนี้ ความรักเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืนจางหายไปและเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ดั่งที่ใครซักคนเคยกล่าวเอาไว้ว่า “ความรักที่ยิ่งใหญ่ก็ยังตายได้” หากปราศจากการแสดงออก น้ำหยดลงหินหินบอกแค่เพื่อนน🤧#ความรักก็เช่นกัน

สุขสันต์วันวาเลนไทน์นะคะทุกคน จากพวกเรา APOLLO 21🌹
#จิตวิทยาในเรื่องความรัก#HappyValentinesDay

ขอบคุณแหล่งที่มา:
1. https://en.wikipedia.org/wiki/Triangular_theory_of_love…
2. https://www.petcharavejhospital.com/…/Theory-of-love
3. http://www.robertjsternberg.com/love

Categories: Blogs

0 Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *