Blogs
จิตวิทยาในเรื่องความรัก
จิตวิทยาในเรื่องความรัก ถ้าเราพูดถึงเรื่องความรักในช่วงนี้ ก็คงหนีไม่พ้นเทศกาลหลักของเดือนกุมภาพันธ์นั่นก็คือ “วันวาเลนไทน์” แน่นอนว่า ความรักเป็นสิ่งสวยงามเหมือนที่ใครหลายๆ คนได้บอกไว้ และเช่นเดียวกันความรักก็เป็นยาพิษที่ทำให้ชีวิตใครหลายคนต้องเจ็บปวดจากการได้รัก… แต่ถึงอย่างไรนั่นก็เป็นสีสันนึงของชีวิตเราใช่ไหมล่ะ หากเราลองย้อนเวลากลับไปนึกถึงเรื่องความรักล่ะก็ ความรักครั้งแรกๆ ที่ใครหลายคนนึกได้ก็คงจะเป็นความรักในช่วงวัยเรียน ช่วงเวลานั้นคงเป็นช่วงเวลาที่สดใสในความทรงจำของใครมากมายเลยใช่ไหมล่ะ การได้แอบมองใครซักคนจากมุมไกล สติ๊กเกอร์บนเสื้อที่ได้จากเพื่อน ดอกกุหลาบที่ให้หรือได้จากใครซักคน ช็อกโกแลตที่แอบวางไว้บนโต๊ะ การได้แอบชอบและรักใครในตอนนั้นกลายเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากๆ ในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์ แต่เอ๊ะ? ความชอบของเรากับเธอคนนั้นจะใช่ความรักจริงๆ ไหมนะ? และถ้าใช่จะเป็นความรักแบบไหนกัน? หรือว่าในตอนนั้นเรายังเด็กเกินไปที่จะเรียกมันว่า “ความรัก” เอาล่ะ วันนี้พวกเราชาว APOLLO 21 จะนำคำถามซึ่งไร้คำตอบมาตอบให้กับทุกคนด้วยทฤษฎีจิตวิทยาของความรัก หรือจะพูดอย่างเป็นทางการก็คือทฤษฎีสามเหลี่ยมของความรักของ โรเบิร์ต สเติร์นเบิร์ก (Robert Sternberg) อาจารย์ภาควิชาจิตวิทยาประจำมหาวิทยาลัยเยล ได้อธิบายองค์ประกอบของความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความรักไว้ 3 อย่างที่สำคัญนั่นก็คือ ความใกล้ชิดหรือสนิทสนม (Intimacy) ความหลงใหลหรือเสน่ห์หา (Passion) และความผูกมัดหรือความผูกพัน (Commitment) 1. ความใกล้ชิด (Intimacy) เป็นองค์ประกอบด้านอารมณ์ที่ทำให้คนเรารู้สึกพูกพันเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง เป็นความรู้สึกที่เกิดจากภายในโดยความรู้สึกนี้จะค่อยๆ Read more…