“If everyone is moving forward together, then success takes care of itself.”
– Henry Ford, Founder of Ford Motor
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่กิจการใดกิจการหนึ่งจะประสบความสำเร็จนั้น นอกจากการมีเป้าหมายที่ชัดเจนของกิจการและวิสัยทัศน์ของผู้นำแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการมีทีมงานที่แข็งแกร่ง
การมีทีมงานที่แข็งแกร่งนั้นนอกจากจะช่วยให้ผลลัพธ์ของการทำงานออกมาดีแล้ว ยังทำให้ทุกคนมีความสุขกับการทำงานอีกด้วย
ทีนี้เราลองย้อนถอยหลังกลับมาก้าวหนึ่งก่อน นิยามของคำว่า “ทีม” ที่แท้จริงแล้วคืออะไร?
ทีมคือกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งทำงานร่วมกันโดยมีจุดประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน ทีมเวิร์คที่ดีจะทำให้ทุกคนในทีมรู้สึกมีความปลอดภัยทางด้านอารมณ์ (emotional security), มีความมั่นใจ (self-confidence), และสามารถวางแผนและตัดสินใจร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ [1]
แน่นอนว่ามีหลายปัจจัยที่จะทำให้ทีมงานแข็งแกร่งและมีทีมเวิร์คที่ดี แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ทีมงานของคุณมีประสิทธิภาพที่ดี นั่นคือการสร้างวัฒนธรรมการ feedback และการทำ retrospective
Feedback Culture หรือวัฒนธรรมการ Feedback คืออะไร?
Feedback Culture คือการสร้างนิสัยให้ทีมงานทุกคนกล้าแสดงออก กล้าออกความเห็น พูดจาบนเหตุผลที่มีที่มาที่ไปและไร้ซึ่งอคติใดๆ การจะสร้าง Feedback Culture ที่ดีได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายและจำเป็นต้องทำอย่างมีวินัยและต่อเนื่อง
การสร้างวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นการช่วยให้ทีมงานของคุณมีพื้นที่ที่ปลอดภัย (Safe Zone) ที่จะแสดงออกทางความคิดและเสริมสร้างความมั่นใจให้ทุกคน รวมถึงยังส่งเสริมการถกเถียงประเด็นอย่างตรงไปตรงมาและมีเหตุผล
เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณสามารถ Feedback Culture ได้สำเร็จ ทุกคนจะมีความมั่นใจและมีความสุขในการทำงานมากขึ้น รวมถึงกล้าที่จะพูดเรื่องงานและพัฒนางานให้ดีขึ้นอย่างตรงไปตรงมา เมื่อมีการถกเถียงกันก็เป็นการถกเถียงอย่างมืออาชีพ (professional) ไม่เก็บมาเป็นเรื่องส่วนตัว (personal) และป้องกันการเกิดดราม่าในภายหลัง
แล้ว Retrospective ล่ะคืออะไร?
บริษัทที่พัฒนา Software หรือเกี่ยวข้องกับ IT ซึ่งมีวิธีการทำงานแบบ Agile คงคุ้นเคยกับคำนี้กันอยู่แล้ว
Retrospective คือการทบทวนและ reflect เรื่องที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ผ่านมา
ที่ APOLLO 21 เรามีการทำงานแบบ Agile และมีการ Retrospective หลังจบ Sprint เพื่อทบทวนเหตุการณ์ที่ผ่านมาในแต่ละ Sprint
เราจะทบทวนถึงเรื่องที่ดีที่เกิดขึ้นใน Sprint ทบทวนถึงปัญหา และแนวทางแก้ไข และมีเกมหรือกิจกรรมให้ฉุกคิดเพื่อการพัฒนาทางความคิดของทุกคนในทีม
การทำ Retrospective นั้นเป็น process อีก process หนึ่งที่สำคัญมากในการที่จะทำให้ทุกคนในทีมเดียวก้าวไปด้วยกันและมองเห็นภาพรวมร่วมกัน ซึ่งเมื่อทำควบคู่กับ Feedback Culture แล้ว สองอย่างนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยทำให้ทีมงานของคุณแข็งแกร่งขึ้นได้
ก่อนจบบทความนี้ เราขอฝาก Prime Directive หรือสาระสำคัญไว้ข้อหนึ่ง ก่อนการเริ่มต้น Retrospective แต่ละครั้ง
“Regardless of what we discover in the retrospective, we understand and truly believe everyone did the best job they could given what they knew at the time, their skills and abilities, the resources available and the situation at hand.” [2]
“ไม่ว่าผลลัพธ์ของ Retrospective ครั้งนี้จะออกมาอย่างไร เราทุกคนต่างเข้าใจและเชื่อว่าทุกคนในทีมได้ทำตามหน้าที่อย่างสุดความสามารถแล้ว ด้วยความรู้ที่แต่ละคนมี ณ เวลานั้น ทักษะและความสามารถ รวมถึงทรัพยากรที่มีในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น”
ขอให้ทุกคนโชคดีในการสร้างทีมงานครับ
ขอบคุณครับ
APOLLO 21 – We make AWESOME software in Chiang Mai
For more detail about us please visit – https://apollo21.asia
References:
Photo by You X Ventures on Unsplash
0 Comments