APOLLO 21

ทำไมทีมถึงควรมีส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง Senior และ Junior Developer?

แน่นอนว่าในยุคสมัยนี้ ทุกองค์กรต่างพูดถึง Team Diversity หรือการสร้างความหลากหลายภายในทีม

การสร้างความหลากหลายภายในทีมนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ตัวอย่างของข้อดีในการสร้างความหลากหลายภายในทีมคือ

1.สมาชิกซึ่งมีภูมิหลัง ประสบการณ์ ความเชื่อ และการมองโลกที่แตกต่างออกไปจะทำให้เกิดทักษะและความสามารถที่หลากหลายภายในทีม ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นและช่วยเหลือเกื้อกูลในจุดบอดของคนในทีมได้ดีขึ้น

2.การมีความหลากหลายนั้นทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมรวมถึงการพัฒนาใหม่ๆ

3.การที่สมาชิกภายในทีมสามารถพูดได้หลายภาษาหรือมาจากต่างวัฒนธรรมสามารถทำให้องค์กรมีโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น รวมถึงยังสามารถเข้าใจบริบทของวัฒนธรรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

4.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทีม รวมถึงเพิ่ม talent pool และเพิ่ม retention rate ของพนักงาน [1]

อย่างไรก็ดีการที่จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรหรือสร้าง Team Diversity ที่มีประสิทธิภาพและรักษาไว้ให้ดีนั้นเป็นเรื่องที่มีความท้าทายอยู่ไม่น้อย และก่อนที่ HR ขององค์กรจะตัดสินใจสร้าง Team Diversity นั้นควรจะต้องพิจารณาข้อดี-ข้อเสียและระดับของความหลากหลายที่ต้องการจะสร้างให้ถี่ถ้วนสียก่อน [2]

การสร้างความหลากหลายภายในทีมนั้นแบ่งออกเป็น 3 หัวข้อใหญ่ๆ [3]

1. Demographic Diversity – ความหลากหลายทางลักษณะภายนอก เช่น เพศ, อายุ, ชาติพันธุ์

2. Personality Diversity – ความหลากหลายทางบุคลิกภาพ เช่น ระดับความเป็น extrovert/introvert หรือบุคลิกภาพตาม MBTI/นพลักษณ์/Big-five

3. Functional Diversity – ความหลากหลายทางทักษะและความสามารถ

เนื้อหาในวันนี้เราจะพูดถึง Functional Diversity ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เราควรมีส่วนผสมที่ลงตัวระหว่าง Senior และ Junior Developer

อย่างที่ทราบกันดีว่า Senior Developer นั้นค่อนข้างที่จะมีรายได้สูงมากในตลาดแรงงานทั่วโลก ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการในพื้นที่และทักษะความสามารถเฉพาะด้าน แต่โดยปกติจะมีรายได้ที่สูงกว่า Junior Developer อยู่หลายเท่าตัว [4]

ขอบเขตงานของ Senior Developer นั้นจึงมีความต่างจาก Junior Developer อยู่มาก ซึ่งงานส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต้องใช้ความสามารถในการมองภาพรวม การวางแผน การทำ POC การวางสถาปัตยกรรมระบบ การทำ CI/CD และอื่นๆ อีกมากมาย

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นงานที่ต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ที่ได้จากการผ่านงานจริง เพื่อลดความเสี่ยงของ Project รวมถึงจะช่วยคุม cost ในระยะยาว เพราะ cost ที่แพงที่สุดใน Software Development นั้นคือ cost ที่จะหมดไปกับ Technical Debt หรือหนี้ทางเทคนิค (ในบทความนี้จะไม่ขอลงรายละเอียด)

ในขณะเดียวกันด้วยภาระงานที่มากจนล้นมือ ก็เป็นโอกาสอันดีที่ Junior Developer ซึ่งมีพลังและไฟที่ลุกโชน รวมถึงมีทักษะในการ code แล้ว พร้อมจะมาช่วยทำเป้าหมายของทีมให้สำเร็จไปด้วยกัน และยังได้ซึมซับความรู้และประสบการณ์ การวางโครงสร้างโปรแกรมที่ดีจากรุ่นพี่อีกด้วย

นี่จึงเป็นความสัมพันธ์ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน เปรียบเสมือนนักบินที่ต้องมีกัปตันและผู้ช่วยกัปตัน สะสมชั่วโมงบิน รอวันที่จะขึ้นมาเป็นกัปตันและส่งผ่านความรู้ให้น้องๆ ต่อไป

References:

[1] https://theundercoverrecruiter.com/elements-employee-retention/?fbclid=IwAR3TJ7NZlX_GQ10F30DmSQCCPERMXGHdAQPoekwCOcgX8z7pN4p7ngguVxc

[2] https://www.hult.edu/blog/benefits-challenges-cultural-diversity-workplace/?fbclid=IwAR1TWzy4UPRXm_Bfo_gen1efLFjz7IZ7Tjein7EH2ygOVnKXRYtyq07D8-g

[3] https://en.wikipedia.org/wiki/Team_diversity

[4] https://medium.com/swlh/why-senior-engineers-hate-coding-interviews-d583d2855757


0 Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *